สิว (Acne)
“สิว” ปัญหาบนผิวหน้าที่ไม่ใช่เรื่องสิวๆ
สิว สามารถเกิดขึ้นได้กับผิวทุกประเภท มีสาเหตุที่หลากหลาย
ต่างกันทั้งหน้าตา และรวมถึงการดูแลรักษาอีกด้วย
1. สิวหัวดำ (Blackheads)
สิวหัวดำ หรือ สิวอุดตันหัวเปิด มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ มีรูเปิดออกจนเห็นหัวสิว และมองเห็นจุดสีดำอยู่บริเวณ
ตรงกลาง ซึ่งจุดนั้นเกิดจากน้ำมันบนผิวหน้า ที่เจอกับออกซิเจนในอากาศ และเกิดปฏิกริยาจนไขมันเปลี่ยนเป็นสีดำ
วิธีดูแล : ใช้การทายารักษาสำหรับรักษาสิวอุดตันโดยเฉพาะ ร่วมกับการกดสิว
2. สิวหัวขาว (Whiteheads)
สิวหัวขาว หรือ สิวอุดตันหัวปิด มีลักษณะเป็นตุ่มสิวแบบยังไม่มีรูเปิด จึงทำให้ดันผิวจนนูนขึ้นมา เมื่อใช้มือลูบจะ รู้สึกเหมือนมีก้อนเล็กๆเป็นไต บีบออกยาก เพราะรากสิวลึก สิวประเภทนี้เมื่อปล่อยไว้นานๆ จะขยายขนาดขึ้น และมี โอกาสกลายเป็นสิวอักเสบชนิดต่างๆ ได้
3. สิวเสี้ยน, สิวอุดตัน (Comedone)
สิวเสี้ยน มีลักษณะเป็นเสี้ยนเหมือนกับชื่อ สิวเสี้ยนมีลักษณะคล้ายกับการเกิดสิวอุดตัน คือ เกิดจากความผิดปกติของผิวหนังบริเวณรูขุมขน ทำให้ชั้นขี้ไคลทับถม และมีการหนาตัว ร่วมกับมีการสะสมของกระจุกขนอ่อนในรูขุมขน ซึ่งอาจพบเส้นขนได้มากถึง 5-50 เส้น และกระจุกขนอ่อนเหล่าน้ีนี่เองที่ทำให้เกิดลักษณะเป็นเสี้ยนสิวสีขาวๆ
สิวเสี้ยนอาจพบได้ในหลายบริเวณที่มีรูขุมขนขนาดใหญ่ เช่น แผ่นหลัง ต้นแขน ต้นขา บริเวณจมูก คาง ผิวระหว่างคิ้ว และเมื่ออายุเพิ่มข้ึนก็ยิ่งพบได้มากขึ้น
วิธีดูแล : ใช้ยาทาที่ช่วยลดการอุดตัน เช่น ยาทาเบนซิล เพอร์ออกไซด์ หรือยาทาในกลุ่มกรดวิตามินเอ จะช่วยให้สิวเสี้ยน และสิวอุดตันหลุดออกได้ง่ายข้ึน ใช้ร่วมกับการกดสิว และควรพบแพทย์เพื่อเริ่มทายาอย่างถูกต้อง ในปริมาณ ที่เหมาะสมเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองผิว
4. สิวอักเสบ (Nodular Acne)
เป็นสิวอักเสบชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นตุ่มสีแดงขนาดใหญ่ เกิน 0.5 ซม. อยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะเป็นไตแข็งๆ และ รู้สึกเจ็บ เกิดจากแบคทีเรียและน้ำมันในตุ่มสิวแตกกระจายอยู่ใต้ผิวหนัง สิวจะอักเสบอยู่หลายวัน มักจะเกิดแผลเป็นเมื่อหาย
วิธีดูแล : เมื่อเป็นสิวชนิดนี้ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะไม่สามารถรักษาเองได้ด้วยยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป
5. สิวชนิดตุ่มแดง (Papule)
สิวอักเสบอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสิวตุ่มแดง สัมผัสแล้วเจ็บ แต่เจ็บน้อยกว่าสิวอักเสบ และมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 0.5 ซม. ส่วนมากสิวชนิดนี้เป็นสิวอักเสบในระยะแรกที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน
วิธีดูแล : ล้างหน้าให้สะอาดแบบอ่อนโยน ไม่ควรใช้สครับขัดผิวหน้า เพราะจะยิ่งเพิ่มอาการระคายเคือง
6. สิวหัวหนอง (Pustule)
และนี่ก็เป็นสิวอักเสบอีกชนิด มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและปวด ข้างบนตุ่มมีหัวหนองสีเหลือง เป็นสิวที่มีอาการอักเสบ มากกว่าสิวอักเสบตุ่มแดง โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นแทรกซ้อนที่สิว
วิธีดูแล : ล้างหน้าให้สะอาดแบบอ่อนโยน ไม่ควรใช้สครับขัดผิวหน้าเด็ดขาด เพราะจะยิ่งเพิ่มอาการระคายเคือง และควรใช้ยาแต้มสิวร่วมด้วยวันละ 2-3 ครั้ง
7. สิวหัวช้าง (Acne Conglobata)
เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง มักพบในวัยรุ่นที่มีผิวหน้ามันมาก บางรายมีประวัติคนในครอบครัวเป็นสิวหัวช้างด้วย สิวหัวช้างมีลักษณะเป็นสิวอักเสบรุนแรงทุกชนิดขึ้นรวมกันหนาแน่น หัวสิวมักจะแตก มีหนองเยอะ และมีเลือดไหลเยอะ พบได้มากที่ใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง
วิธีดูแล : รักษาได้ยาก และจะกลายเป็นแผล เป็นก้อนนูนหรือหลุมสิวขนาดใหญ่ ควรพบแพทย์และรักษาโดยแพทย์
8. สิวเทียม สิวผด สิวหิน (Acne Aestivale)
สุดท้าย สิวผด หรือสิวเทียม บางคนเรียกว่าสิวหิน เป็นเนื้องอกของต่อมเหงื่อ จะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ จัดว่าเป็นผดที่ อยู่บนผิวหน้า พวกนี้เวลาตากแดดร้อนๆ ตุ่มจะชัดเจนขึ้น มีลักษณะเเข็ง เพราะเป็นต่อมเหงื่อที่ไม่มีรูอยู่ใต้ผิวหนัง
ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณรอบตา เพราะต่อมเหงื่อจะเยอะ เกิดจากเวลาที่เรามีเหงื่อออกแล้วออกไม่หมด จึงทําให้ต่อม เหงื่ออุดตันจึงเกิดสิวผด ลักษณะแข็งๆ เม็ดเล็กๆ นอกจากนี้อาจจะมีอาการใบหน้าเห่อแดงเมื่อเจอแสงแดด หรือบางคน ก็มีตุ่มหนองอักเสบร่วมด้วย
วิธีดูแล : พยายามไม่ตากแดดจัด เป็นเวลานาน แต่ถ้าจำเป็นต้องออกไปเจอแดดร้อน ก็ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพื่อลด อุณหภูมิผิวหน้า หรือบางคนเกิดจากแพ้น้ำประปา ก็เลี่ยงมาใช้น้ำดื่มล้างหน้าแทน รวมถึงอย่านอนดึก ลดความ เครียด และถ้าเป็นสิวผดแบบไม่อักเสบไม่ต้องพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นสิวผดแบบอักเสบควรพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
ซึ่งหลังจากที่เป็นสิวแล้ว ก็มักจะมีร่องรอยทิ้งอยู่บนใบหน้า
หรือที่เราเรียกกันว่า “หลุมสิว” นั่นเอง
หลุมสิวคืออะไร?
หลุมสิว (Atrophic Scars) เป็นรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวชนิดหนึ่งที่มักเกิดจาก สิวอักเสบ มีลักษณะเป็นรอยบุ๋มลงไปเมื่อเทียบกับชั้นผิวหนังข้างเคียง เกิดจากกระบวน การรักษาแผลบริเวณที่เป็นสิวให้กลับมาเรียบเนียน โดยการสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่อ ขึ้นมาสมานแผล แต่เนื่องจากการสมานแผลดังกล่าวไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะการกด หรือบีบสิวก่อนหน้านี้จนทำให้เกิดบาดเจ็บในชั้นผิวที่ลึกลงไป คอลลาเจนและเนื้อเยื่อที่ สร้างขึ้นจึงไม่เพียงพอที่จะปกปิดให้แผลสิวเรียบเนียน ผู้ที่ผิวมีปัญหาสิวสามารถเกิด เป็นหลุมสิวกว่า 80-90% แต่นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ความตึงบริเวณแผล การหดรั้งของแผลจนทำให้ เกิดหลุมสิวที่มีความแตกต่างกันทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้
1. หลุมแบบจิก (Ice Pick Scars)
เป็นลักษณะหลุมสิวที่มีรอยแผลลึก ปากแผลแคบ ขอบแผลไม่เรียบ ก้นของแผลแหลมคล้ายกับกรวย เหมือน กับโดนน้ำแข็งแหลมๆทิ่ม แล้วทิ้งรอยไว้ตามชื่อ มีความลึกถึงหนังกำพร้าหรือเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง ปากแผล มีขนาดน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร มักพบบริเวณแก้ม ถือเป็นหลุมสิวที่รักษาค่อนข้างยากและรุนแรงที่สุด
2. หลุมแบบกว้าง (Boxcar Scar)
เป็นลักษณะหลุมสิวที่มีรอยแผลกว้าง 3-4 มิลลิเมตร ปากหลุมและก้นหลุมมีความกว้างเท่าๆ กัน ขอบหลุมสิว ชัดและชัน มีทั้งแบบแผลตื้นและแบบแผลลึก รูปทรงของหลุมสิวเป็นวงกลมหรือวงรี นอกจากเกิดจากสิวแล้ว ยังสามารถเกิดจากแผลอีสุกอีใสได้อีกด้วย
3. รอยแผลเป็นแบบกว้าง (Rolling Scar)
เป็นลักษณะหลุมสิวที่มีรอยแผลกว้างลาดลึกลงชั้นใต้ผิว ก้นหลุมสิวโค้งลึกลงคล้ายก้นกระทะ ทำให้ผวหนัง บริเวณที่มีรอยแผลเป็นชนิดนี้มีลักษณะเหมือนคลื่น เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดดึงรั้งชั้นตั้งแต่หนังแท้ถึงเนื้อใต้ ผิวหนังลงไป มักมีขนาดมากกว่า 4-5 มิลลิเมตร
ไม่ว่าจะเป็นรอยแบบไหน รักษายากหรือง่าย ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับใบหน้า ของเรา แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องรักษาให้ถูกวิธี ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาแผล จากหลุมสิว ดังนี้
1. เลเซอร์ (Laser)
เป็นวิธีการรักษาที่ให้ประสิทธิภาพ ในการรักษาสูง ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ใต้ผิวหนัง ส่งผลให้หลุมสิวตื้นขึ้นได้
7. การฉีดสารเติมเต็มหรือฉีดฟิลเลอร์ (Fillers injection)
เป็นวิธีการรรักษาโดยการฉีดสารเติมเต็ม เข้าไปที่แผลหลุมสิว ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้สาร Hyaluronic Acid ในการฉีด
2. กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมญี (Dermabrasion)
วิธีนี้จะเป็นการใช้เครื่องมือกรอผิวหนังชั้น กำพร้าออก เพื่อเผยผิวใหม่ที่ร่างกาย สร้างมาแทนที่ และยังช่วยให้คอลลาเจน และโปรตีนผิวทำงานได้ดีขึ้น
4. ใช้ยากลุ่มกรดวิตามินเอ
วิธีนี้ได้ผลดีโดยเฉพาะแผลหลุมสิวประเภท หลุมสิวลึก ปากแผลแคบ ก้นแผลแหลม (Ice Pick Scars) แต่ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
5. การตัดพังผืด (Subcision)
เป็นวิธีการรักษาด้วยการสอดเข็มเข้า ใต้ผิวหนังเพื่อตัดพังผืดที่รั้งผิวไว้ ซึ่งวิธีนี้มักได้ผลดีในแผลหลุมสิวประเภท รอยแผลเป็นแบบกว้าง (Rolling Scar)
6. การผ่าตัด (Excision)
เป็นวิธีการรรักษาโดยการตัดแผลออกไป และค่อยเย็บติดเข้าหากัน วิธีนี้นิยมใช้รักษากับ แผลหลุมสิวประเภท หลุมสิวลึก ปากแผลแคบ ก้นแผลแหลม (Ice Pick Scars)
3. ใช้กรดลอกผิว (Chemical Peeling)
เป็นวิธีรักษาโดยการกระตุ้นให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดออกไป ซึ่งจะใช้สารประกอบเคมี 3 ชนิด ในการเร่ง คือ Glycolic Acid ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ที่สกัดจากผลไม้ Salicylic Acid ละลายได้ดีเมื่อทาลงบนผิว และ Trichloroacetic Acid มีคุณสมบัติในการสลายโปรตีนผิวหนัง
ไม่ว่าหลุมสิวที่เกิดขึ้นจะเป็นแบบไหน ก็สามารถเข้าไปพบแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษา ประเมินความรุนแรง และวางแผนในการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะหากปล่อยไว้เมื่ออายุมากขึ้น หลุมสิวก็จะยิ่งเห็นได้ความชัด แต่หากต้องการ ดูแลตัวเองเบื้องต้น เมื่อมีหลุมสิวล่ะก็
สิ่งที่ต้องทำ
– ดูแลผิวให้ไม่เกิดอาการอักเสบและเกิดสิวเพิ่ม โดยการล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ลดอาหารมันและ อาหารหวาน ล้างเครื่องสำอางก่อนนอนทุกคืน
– หมั่นทายาที่มีส่วนผสมของกรดและวิตามินเอ หรือทำทรีตเมนต์เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และฟื้นฟูผิวหนัง
สิ่งที่ห้ามทำ
– งดสัมผัสบริเวณแผล เช่น บีบ แคะ เกา ลูบ
– ห้ามใช้เครื่องสำอางตกแต่งหรือปกปิดหลุมสิว
– งดผลิตภัณฑ์ที่ผสมแอลกอฮอล์ น้ำหอม น้ำมัน และไวท์เทนนิ่ง
– หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควัน สิ่งสกปรก
– เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หรือจะเป็นวิธีป้องกันไม่ให้เกิดหลุมสิวตั้งแต่แรก
หลุมสิว (Atrophic Scars)สำคัญที่สุดคือ พยายามไม่ให้เกิดสิว แต่หากห้ามไม่ได้ ขณะที่เป็นสิวก็ต้องหมั่น ทำความสะอาดผิวเพื่อลดแบคทีเรียจนนำไปสู่สิวอักเสบได้ ไม่ควรสัมผัสแรงๆ บริเวณ สิวอักเสบ เช่น บีบ แคะ ลูบ และเกา เพราะจะทำให้เส้นเลือดฝอยและเนื้อเยื่อโดยรอบ ถูกทำลาย ส่งผลให้มีอาการบาดเจ็บบริเวณสิวและเสี่ยงเกิดรอยดำ รอยแดง และ รอยแผลเป็นหรือหลุมสิวได้
Message us